“ตั้งแต่ผมอยู่ม.ปลาย ผมก็ชอบถ่ายบ้านข้าง ๆ” คือข้อความที่เขียนอยู่บนหน้าโพรไฟล์บนอินสตาแกรมของ ตูน–ณัฐธีร์ อัครพลธนรักษ์  't_047' ที่ตอนนี้เขาไม่ได้เป็นเพียงผู้ที่ถ่ายบ้านข้าง ๆ แต่ยังเป็นศิลปินเจ้าของผลงานเพลง และเป็นอีกหนึ่งคนที่ลุกขึ้นยืนเพื่อเรียกร้องสิทธิร่วมไปกับประชาชนชาวไทย

ตูนได้ขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชน ไปพร้อมกับบทเพลงจากสองมือของเขา ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “เพลงเป็นตัวจุดประกายให้เกิดการตั้งคำถาม ทำให้เราไปหาข้อมูลต่อ”

เพราะสำหรับเขา ศิลปะคือการสร้างสรรค์ และเป็นการสื่อสารบางอย่างที่มีผลกระทบหรือว่าสร้างความรู้สึกอะไรต่อจิตใจของมนุษย์ได้

วันนี้เราจึงขอชวนคุณร่วมทำความรู้จักกับบุคคลที่ครั้งหนึ่งเสียงเพลงเคยเปลี่ยนโลกของใครหลาย ๆ คนไปพร้อม ๆ กัน ผ่านการเดินทางในโลกศิลปะของเขา และเหตุผลที่ว่าทำไมเขาจึงเชื่อในพลังของคนสร้างสรรค์อยู่เสมอ

ปฐมบทของการทำงานศิลปะ

“จุดเริ่มต้นของการค้นเจอความสำคัญของศิลปะ คือช่วงม.ปลาย” ตูนกล่าว เช่นเดียวกับเด็กหลาย ๆ คนในระบบการศึกษา วิชาศิลปะคือหนึ่งในวิชาบังคับที่ทุกคนต้องเข้าเรียน “เราคุ้นชินกับคำว่าศิลปะในรูปแบบเป็นวิชาหนึ่งที่เราต้องเรียนในช่วงมัธยม ณ ตอนนั้นเรารู้สึกว่าศิลปะเข้าถึงยาก.. เวลาไปหอศิลป์เราก็สงสัยว่า ‘ทำไม รูปนี้มันคืออะไร มันดูเข้าใจยากจังเลย’

“จนวันหนึ่งเรารู้สึกว่า คือเราไม่ได้เริ่มว่าเราอยากทำศิลปะ แต่เราแค่อยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ตัวเองสบายใจ มันคือความรู้สึกว่า ฉันอยากจะสื่อสารอะไรบางอย่างทำให้ตัวเองสบายใจ เริ่มจากการมาหาว่าเรารู้สึกไม่สบายใจอะไรในช่วงมัธยม แล้วพบว่าเกิดจากการที่เรายึดติดในตัวเองมากเกินไป”

“การที่คนอื่นจะต้องรับทราบว่าเราทำอะไร เรากินอะไร เราใส่เสื้อแบบไหน เราหน้าตาเป็นยังไง มันเป็นการสื่อสารที่ทำให้กดดันตัวเอง เราไม่ค่อยสบายใจ เราเลยคิดว่า งั้นเรามาลองสื่อสารอะไรที่ไม่ต้องยึดติดกับตัวเองไหม ก็เลยเปิดหน้ามองฟ้าไปเรื่อย และเราก็ถ่ายเก็บภาพมุมนั้นมาทำรูปหนึ่ง สบายดี ไม่มีเหตุผลอะไร ยุคนั้นคนยังไม่ถ่ายท้องฟ้าเยอะขนาดนี้ เราก็ทำไปเรื่อยๆ ถ่ายเก็บไปเรื่อยๆ เราก็เลยเปิด IG แยกไว้ ภายใต้ความคิดว่า ‘ฉันคิดว่าเขาคงได้เห็นท้องฟ้าหลายๆ แบบ หลายๆ วันคงสบายใจดี’ มันเหมือนเป็นแกลอรีเล็กๆ ของเรา พอเราทำแล้วเราสบายใจ คนที่เข้ามาเห็นรูปท้องฟ้าของเราเขารู้สึกสบายใจไปกับเราด้วย ก็เลยเข้าใจในอีกมิติหนึ่งขชองศิลปะว่ามันง่ายก็ได้ ธรรมดาก็ได้ แต่มันส่งผลกระทบต่อความรู้สึก”

นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้ตูนได้รับความสนใจในโซเชียลมีเดีย เขาค่อย ๆ เติบโตจาก “เด็กม.ปลาย ผู้ชอบถ่ายบ้านข้าง ๆ” เดินทางสู่วัยมหาลัย และกลายมาเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่ยังไม่ทิ้งความสบายใจและความผูกพันกับศิลปะที่ผูกพันในหัวใจ

“ความรู้สึกของเราคำว่าศิลปะในความหมายของเรา มันคือการสร้างสรรค์ การสื่อสารบางอย่างที่มีผลกระทบหรือว่าสร้างความรู้สึกอะไรต่อจิตใจของมนุษย์ได้  เพราะฉะนั้นศิลปะมันเลยกว้างขึ้น มันไม่ใช่แค่เรื่องเอาสีมาวาดภาพแล้ว แต่มันเป็นศิลปะในเรื่องของการดีไซน์ภาพ ศิลปะแห่งการสื่อสาร ศิลปะแห่งท้องฟ้า หรือแม้กระทั่งการพูดการเขียนมันก็เป็นศิลปะหมดเลย อันนี้เป็นจุดเริ่มต้น ที่เราเข้าใจแล้วว่าฉันรู้สึกดีที่ทำให้ตัวเองรู้สึกดี และความรู้สึกดีที่ทำให้คนอื่นรู้สึกดีด้วยมันจะต่อยอดมาเรื่อยๆ

“วันหนึ่งเราอยากจะทำศิลปะเล่าความรู้สึกผ่านบทเพลงบ้าง เราอยากจะจัดทำแกลลอรี่บ้าง ทำโน่นทำนี่ขาย จุดประสงค์เพื่อให้มีบางอะไรบางอย่างไปอยู่ข้างๆทางจิตใจของคนอื่นบ้าง เพราะเรารู้สึกว่าการที่มีใครซักคนอยู่ข้างๆ หรือการที่มีเพื่อนอยู่ข้างๆ มันเป็นความรู้สึกดกับใจ ซึ่งศิลปะที่เราทำเราเชื่อว่ามันนน่าจะทำหน้าที่นั้นได้ ก็เลยขยายต่อมาเป็นบ้างข้างๆ T_o47
 
พลังของการสื่อสาร

“อาจจะเป็นเพราะเราเรียนนิเทศมาด้วย มันเห็นพลังของการสื่อสารว่ามันมีผลตอ่การเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้” ตูนเล่าถึงงานศิลปะที่เปรียบเสมือนสมุดบันทึกประจำวันของเขา “งานของเรามันคือการถ่ายภาพท้องฟ้าวันหนึ่งหรือความรู้สึกที่อยากจะบอกในวันนั้น มันจะต่างกับที่เราโพสต์ข้อความลงไปใน Facebook  เป็นสเตตัสเปล่าๆ มันจะหายไป มันจะไม่ถูกยึดโยงไว้กับสิ่งใด แต่พอมันมีรูปของท้องฟ้าของวันนนั้นไว้ มันจะบันทึกไว้ว่า ณ ช่วงเวลานี้เรารู้สึกแบบนี้ ท้องฟ้าเป็นแบบนี้ ความรู้สึกที่มีต่อจิตใจเป็นอย่างไร เป็นเหมือนไดอารี่ของเราด้วย

“เอาเข้าจริง เราไม่ได้คิดว่างานศิลปะมันจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเท่าไหร่ เราไม่ได้คิดเรื่องยิ่งใหญ่ขนาดนั้น แต่สิ่งที่มันฟีดแบคกลับมาด้วยวความที่ไม่ได้ตั้งใจจะทำ เริ่มส่งผลว่ามีคนเข้ามาคุยว่า ฉันตาม IG นี้แล้วฉันมีแรงบันดาลใจที่อยากจะบันทึกหรือบอกอะไรซักอย่าง หรือฉันฟังเพลงนี้แล้วฉันรู้สึกว่าอาการซึมเศร้าของฉันนั้นดีขึ้น พอเราฟังแล้วเรารู้สึกว่ามันเกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กในตัวคนๆ หนึ่งได้ เราไม่ได้ตั้งใจว่าโลกนี้จะต้องเปลี่ยนแปลง แต่พอมันไปเปลี่ยนแปลงสิ่งเล็กๆ ในตัวคนๆหนึ่งได้ ที่เขาได้ฟังเพลงของเรา และเขารู้สึกว่าดีได้รับอะไรบางอย่างจากคนๆหนึ่งและอยากส่งต่อ ความรู้สึกดีๆ ตรงนี้ไป แต่พอเขาได้รับกำลังใจจากเราเขารู้สึกดี ซึ่งเขาก็รู้สึกดีว่าเขามีส่วนในการส่งมอบความรู้สึกดีๆ ตรงนี้อีกที่หนึ่งให้กับคนอื่นๆ คุณลองพักไหม ไม่ต้องแชร์ข่าวสาร คุณเริ่มจากการถ่ายรูปหรือแบ่งปันสิ่งดี ๆ เพื่อจะส่งต่อไปได้.. มันไม่ใช่ว่าเราเพิกเฉยกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราส่งต่อให้เขาแล้วชีวิตดี เขาจะไปจัดการชีวิตเขาดีขึ้น

“อย่างพอสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสาร (Message) มันขยาย เพลงที่ทำ ก็เป็นบทบาทหนึ่งทางการเมืองของเรา ซึ่งเรารู้สึกว่าเราไม่สามารถไปทำสื่อที่จะไปโน้มน้าวคนให้มาเลือกข้าง (Take Side) ฝั่งใดฝั่งหนึ่งได้ เพราะแต่ละคนก็มีทัศนะคติความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่เราพูดในสิ่งที่เป็นพื้นฐานเป็นสัจธรรมและในแบบที่เราเคยพูดมาตลอด และเราก็ใช้สิ่งที่เราเคยทำ อย่างเราถ่ายรูปท้องฟ้ามา 7-8 ปี เราไม่เคยเห็นว่ามีใครอยู่บนนั้น ฉันก็มองท้องฟ้าจากตรงนี้ ทุกคนก็มองจากตรงนี้ ไม่ว่าคุณจะมองจากตรงไหน คุณก็ไม่เห็นท้องฟ้าที่มันสวยกว่า ซึ่งเราไม่ได้บอกว่าคุณต้องรักหรือคุณจะต้องเกลียดใครเลย แค่บอกว่ามนุษย์มันเท่ากันนะ
 
“พอเราเป็นศิลปิน เรารู้ตัวว่าเรามีคนติดตาม เป็นเด็กมัธยม เด็กประถม คือเป็นช่วงวัยที่ถ้าพ่อแม่เขาเชื่ออะไรมันก็จะถูกถ่ายทอดมาสู่ลูกได้ เช่น ตอนที่เราเป็นช่วงประถมมัธยมถูกสอนให้เชื่อแบบนี้ มองย้อนไปเราก็เชื่อแบบนั้นจริงๆ ว่าเราต้องทำแบบนี้ ในยุคที่เด็กเข้าถึงสื่อได้ง่ายกว่า เราก็อยากจะเป็นอีกเสียงหนึ่ง นำเสนออีกความคิดหนึ่งให้กับเด็กเหล่านี้เขาได้คิด ไม่ใช่บอกว่าอย่าไปเชื่อฟังพ่อแม่ คุณฟังพ่อแม่แบบหนึ่ง ฟังอาจารย์ หรือเพื่อนอีกแบบหนึ่ง ศิลปินก็มีความเชื่อแบบหนึ่ง สุดท้ายแล้วคุณรับข้อมูลไปจากหลายฝ่าย และคุณก็ไปวิเคราะห์เอง เลือกเชื่อแบบไหนเราว่าอันนี้เป็นวิธีที่ถูกต้อง”

งานศิลปะที่เปลี่ยนชีวิต

สำหรับตูนแล้ว ชีวิตของเขาเปลี่ยนผ่านบทสนทนา

“การทำงานดนตรีมันก็ทำให้ได้ไปเจอคนที่มีชุดความคิดแบบหนึ่ง ไปเจอกับเพลงที่พูดในเรื่องแบบนี้ เปลี่ยนหนักๆ คือตอนฟังเพลงวงไฟเย็น มันน่าสนใจมาก”

“หรือถ้าเป็นวงที่เรายกให้เป็นไอดอลของเราคือวง Yena มีเพลงหนึ่งออกมา ชื่อเพลงโถขี้ ร้องว่า “อยู่บนโลกเดียวกัน มีเพียงชั้นบรรยากาศเป็นหลังคา” คือเพลงมันพูดว่าไม่ว่าคุณจะร่ำรวยมีอำนาจแค่ไหน สุดท้ายทุกคนก็นั่งขี้บนโถ เรารับสิ่งนั้นมาเรื่อยๆ และค่อยเปลี่ยนแปลงเราไปเอง หรือกระทั่งมีการออกมาของ Rap Against Dictatorship เราก็จะได้ข้อมูลอีกแบบหนึ่งในโซนฮิปฮอป ที่มันใส่เนื้อหาเพลงเกี่ยวกับปฏิรูป เราว่าสิ่งเหล่านี้มันจะค่อยๆ เปลี่ยน คือเพลงเป็นสื่อที่ง่ายในการรับ เราจะไม่ได้รับข้อมูลที่มันละเอียดมากหรอก แต่มันจะเป็นหัวเรื่อง
 
ของเรื่องต่างๆ และชวนให้ตั้งคำถาม ชวนให้หาข้อมูลต่อว่าเงินในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรมเอาไปลงกับอะไร ทำไมไม่เอามาลงกับศิลปิน สำหรับเราเราว่าเพลงเป็นตัวจุดประกาย เกิดการตั้งคำถาม ทำให้เราไปหาข้อมูลต่อ ซึ่งข้อมูลมันมีมากมายถูกวางไว้ อะไรจะเป็นตัวจุดประเด็นให้ไปหาข้อมูลตรงนี้สิ ทุกคนต้องการความรู้สึก (Emotional) ต้องการความกระเสือกกระสนในการอยากจะรู้ ซึ่งเพลงมันทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดี เราเลยจะให้ความสำคัญกับเพลงค่อนข้างเยอะ ทุกคนโตมากับเพลง และทุกคนก็เชื่อในบางสิ่งบางอย่าง ถูกบังคับให้ร้องให้ฟัง เป็นอิทธิพลทางด้านศิลปะของเพลง”

ถ้าพูดถึงประเด็นสิทธิ สิทธิอันไหนที่เราสนใจที่สุดในตอนนี้
ข้อความถึงนักกิจกรรมและเพื่อนของเราที่ถูกละเมิดสิทธิอยู่ในตอนนี้

“เราอยากจะขอบคุณทุกคนเลยที่เลือกจะออกมาเป็นแกนนำ ผมว่าทุกคนรู้ว่าบทสรุปของตนเองจะต้องเป็นยังไง ผมว่าทุกคนไม่ได้คิดถึงว่ามันจะมีการชนะในเร็ววัน และทุกคนก็อาจจะรู้ว่า ตัวเองจะต้องเผชิญกับสิ่งใดบ้างซึ่งการถูกลิดรอนอิสระภาพไป มันเป็นราคาที่ต้องจ่ายแรงมาก อยากให้รู้ว่าการที่เอาตัวเองเสียสละกับสิ่งเหล่านี้มันไม่สูญเปล่าเลย หรือว่าช่วงเวลาที่คุณอยู่ในเรือนจำ ทุกวันที่ผ่านไปมันไม่ได้สูญเปล่า คนข้างนอกเขาก็พยายามจะอยากทำอะไรซักอย่าง ทุกคนจะมีโมเมนต์ออกเที่ยว ไปใช้ชีวิตตามใจตัวเอง มีความสุขส่วนตัว แต่ผมเชื่อว่าในใจลึกๆ ทุกคนไม่ได้เพิกเฉย และไม่ได้ละเลยว่ามีคนที่ถูกอำนาจเหล่านี้กลั่นแกล้งอยู่ ในมุมของเราไม่ต้องเป็นห่วง เราพูดถึงรุ้ง ไผ่ เสมอ พูดถึงทุกคน การไม่อยู่ของใครคนหนึ่งมันควรจะเป็นเรื่องที่เราขับเคลื่อนเสมอ ในพี่น้องศิลปินเราก็ยังคุยเรื่องความเปลี่ยนแปลง และทุกคนก็พยายามขับเคลื่อนและทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีที่สุด”
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy